วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทีมกะแก้ม

18 พ.ค. 2554 กานต์พิชชา อนุบาล 1, กรวิชญ์ ชั้น ป.3 โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์






การบริหารแบบมีส่วนร่วม









กรอบแนวคิดการพัฒนาสถานศึกษาโรงเรียน
สามเสาหลัก บวร”
-                   บ้าน
-                   วัด   
-                   โรงเรียน
                                 การมีส่วนร่วม
1.  การมีส่วนร่วมน้อยมาก  หรือไม่มีส่วนร่วม
2.  การมีส่วนร่วมรับรู้
3.  การมีส่วนร่วมทำ
4.  การมีส่วนร่วมคิด
5.  การมีส่วนร่วมทำ   ร่วมคิด  ร่วมตัดสินใจ

     เป้าหมาย/ภารกิจ
1.  การบริหารจัดการศึกษา
2.  คุณภาพผู้เรียน
3.  บริหารหลักสูตรและงานวิชาการ
4.  ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน  ชุมชน
5.  การบริหารและพัฒนาบุคลากร
6.  การส่งเสริมความดีเด่น
ขั้นตอนวิธีการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพโรงเรียนสู่มาตรฐาน
บันได 7  ขั้น
1. ขั้นเตรียมการและสร้างความเข้าใจ
2. ขั้นตรวจสอบความพร้อมสถานภาพโรงเรียน
3. ขั้นกำหนดเป้าหมาย
4. ขั้นกำหนดแผนการปฏิบัติ
5. ขั้นดำเนินงานการพัฒนาโรงเรียน
6. ขั้นการประเมิน
7. ขั้นการสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาโรงเรียน



ผังมโนทัศน์/กรอบแนวคิด การพัฒนาเชิงระบบ ( CIPP  Model )
บริบทโรงเรียน   (Context)                                                      ปัจจัย (Input)
สภาพแวดล้อมภายนอก                                                    ปัจจัยหลัก  : ทรัพยากรบุคคล
สภาพแวดล้อมภายนอก                                                    ปัจจัยสนับสนุน :  ทรัพยากรวัสดุ
สภาพแวดล้อมภายนอก                                                    งบประมาณ
สภาพแวดล้อมภายใน
CIPP
ผลผลิต/ผลลัพธ์ (Output//Outcome/Product)             กระบวนการพัฒนา (Process)
                   นักเรียน  : ผลสัมฤทธิ์, ทักษะ,   เจตคติ                        การวางแผนพัฒนา แผนปฎิบัติการ
บุคลิกภาพ, การเรียนต่อ/ประกอบอาชีพ                       การจัดการด้านกายภาพ
                    โรงเรียน : เป็นที่ชื่นชมของชุมชน                               การพัฒนาครู สู่การสอนคุณภาพ
 เป็นแบบอย่าง/ต้นแบบ, ช่วยเหลือ ร.ร.อื่น

คุณภาพ / มาตรฐาน                                                   ชุมชน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
                       สมศ. / กระทรวง , อื่น ๆ

ข้อคิดของท่านพุทธทาส
มองแต่แง่ดีเถิด
เขามีส่วน  เลวบ้าง  ช่างหัวเขา                        จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่
เป็นประโยชน์  โลกบ้าง  ยังน่าดู                    ส่วนที่ชั่ว  อย่าไปรู้  ของเขาเลย
จะหาคน  มีดี  โดยส่วนเดียว                                            อย่ามัวเที่ยว  ค้นหา  สหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหา  หนวดเต่า  ตายเปล่าเอย       ฝึกให้เคย  มองแต่ดี  มีคุณจริง

ผู้บริหาร          มอง          จับผิดครู         ครู         จ้อง        จับผิดผู้บริหาร
-                   งานไม่เดิน
-                    อยู่ไม่สุข
-                    เป็นทุกข์ตลอดเวลา
จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษา
1.  เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างน้อยร้อยละ  5
2.  นักเรียนทุกคนได้รับการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย  สติปัญญา  อารมณ์  เพิ่มศักยภาพในด้านภาษา  ด้านคณิตศาสตร์  ด้านวิทยาศาสตร์  และด้านเทคโนโลยี
3.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ทุกคนอ่านออกเขียนได้  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  และชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  ทุกคนอ่าน  เขียน  คิดคำนวณ  และมีความสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
4.  นักเรียนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษา  ได้รับการดูแลช่วยเหลือให้สามารถเข้าเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับทุกคน
5.  นักเรียนทุกคนมีความสำนึกในความรักชาติ
6.จัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  โดยจัดให้บูรณาการทุกองค์ประกอบให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน  โดยพัฒนาให้เป็นต้นแบบได้
7.  ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน  ได้รับการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติ
งานมีความรู้ทักษะการใช้เทคโนโลยี  สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ
8. โรงเรียนมีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง  เป็นที่พึงพอใจของชุมชนท้องถิ่น  สามารถเป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝัน  โรงเรียนดีประจำอำเภอ   และผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษา  ในรอบที่  3  ของสำนักงานรับรองคุณภาพและมาตรฐานแห่งชาติ   (สมศ.)  ได้
- ผู้นำด้านคุณธรรม  จริยธรรมให้กับครู นักเรียน
- ความภาคภูมิใจสูงสุดของ การบริหารจัดการศึกษา
- สถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับประถมศึกษา ขนาดกลาง ประจำปีการศึกษา  2552
- ให้ความรู้การศึกษาดูงานและกิจกรรมสำคัญ
- ครูและบุคลากรทางการศึกษา  ทีมคุณภาพโรงเรียนวัดเบญพาด
- การจัดกิจกรรมส่งเสริมและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ให้นักเรียนได้แสดงออกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
- บรรยากาศจัดการเรียนรู้ของครูที่หลากหลายน่าสนใจ น่าเรียน
- ห้องเรียนน่าอยู่  คุณครูน่ารัก
- นักเรียนตระหนักในคุณค่าของความเป็นไทยและภูมิใจในความเป็นไทย
- การขยายผลการใช้สื่อที่มีคุณภาพและเผยแพร่แก่ผู้สนใจ
- การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
- ศูนย์เครือข่ายโรงเรียนวิถีพุทธ
- นักเรียนมีความรับผิดชอบ  ซื่อสัตย์  และเสียสละ
- นักเรียนปฏิบัติหน้าที่ของตนเองได้ดีและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
- นักเรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- นักเรียนสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- นักเรียนมีความรู้ความสามารถรอบด้าน  และมีความสามารถพิเศษ
- การกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- การนำผลการเรียนไปพัฒนานักเรียน พัฒนาการสอน และพัฒนาหลักสูตร
- นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมศิลปะ  ดนตรี  และกีฬา
- ร่วมกับ อบจ.กาญจนบุรี และท้องถิ่น  จัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนอำเภอพนมทวน
- นักเรียนมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์  ตามวัย  แต่งกายสะอาด  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- นักเรียนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
- อาคารสถานที่ทุกแห่ง มีความสะอาดปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ มั่นคงแข็งแรง
- ระบบการดูแลรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย ครอบคลุมทั่วทั้งโรงเรียน
- ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ  ครบถ้วนและใช้ประโยชน์คุ้มค่า
- การจัดมุม/แหล่งส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน
- การจัดสภาพแวดล้อมที่ดีภายในบริเวณสถานศึกษา
 - ระบบการให้บริการ  การใช้ และการบำรุงรักษาเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
- ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
- ศูนย์พัฒนาวิชาการ ห้องสมุด

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ศึกษาดูงาน _ สัมมนาทางวิชาการ

ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนวัดเบญพาด ต.พังตรุ จ.กาญจนบุรี

รับประทานอาหารเช้าที่คณะครูโรงเรียนเบญพาดเตรียมไว้ให้

ฟังคำบรรยายการบริหารจากผู้อำนวยการ วิชา จุลทรักษ์

มอบของที่ระลึกแก่คณะครูโรงเรียนวัดเบญพาด

ทีีมผู้บริหารโรงเรียนวัดเบญพาด. ดร.เผ่าพงษ์พัฒน์ อาจารย์ที่ปรึกษา

อาจารย์ และเพื่อนร่วมรุ่น

ชี้แจงหน้าที่ของนักศึกษามอบหมายงานและนัดหมายกำหนดการสัมมนา

ผูู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 2
ให้เกียรติเป็นประธานและบรรยายพิเศษในพิธีเปิดการสัมมนาทางวิชาการ

ทีมวิชาการรุ่น 3 ร่วมปรึกษางาน

รับมอบเกียรติบัตรหลังปิดการสัมมนาโดย ดร.เผ่าษ์พงพัฒน์ บุญกะนันท์

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ห้องเรียนคุณภาพ

ห้องเรียนคุณภาพ ครูคุณภาพ
   
     
โรงเรียน เป็น ชีวิตของเด็ก ครู และผู้บริหาร
"ห้องเรียน คือ ชีวิตของเด็กและการทำงานของครู"
"ห้องเรียนคุณภาพ น่าจะเป็นสื่อที่ดี ที่จะสะท้อนไปยังนักเรียน ครู และผู้บริหาร"
   
สนุกกับการเรียนรู้แบบ Group Dynamics กับ M.T.D.
    
    

องค์ประกอบห้องเรียนคุณภาพ แบบฉบับ M.T.D. ประกอบด้วย
  • การออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
  • ICT ในห้องเรียน
  • CAR เพื่อนำการเปลี่ยนแปลง
  • การสร้างวินัยเชิงบวกในห้องเรียน
  • ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง






ลักษณะกระบวนการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ในแบบ M.T.D.
  • เป็นกระบวนการของปัญญาพัฒนาเด็ก
  • เรียนรู้อย่างมีความสุข เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน
  • บูรณาการสาระการเรียนรู้
  • เป็นกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง
  • เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันภายใต้ บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้

บทบาทครูในห้องเรียนคุณภาพ
  • จัดการเรียนรู้ โดยเลือกใช้เทคโนโลยีได้สอดคล้องและเหมาะสมกับผู้เรียน
  • สนับสนุนให้นักเรียนได้เข้าถึง และใช้งาน ICT
  • พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
  • ปรับบทบาทและวิธีการสอน
  • มุ่งมั่นที่จะดำเนินการ

ครูควรพัฒนาตนเองอย่างไร ?
  • ใช้.. อินเทอร์เน็ตในการพัฒนาและเตรียมการจัดการเรียนรู้ให้มากกว่าเดิม
  • ใช้.. คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ หรือให้ข้อมูลนักเรียน โดยยึดหลักของความแตกต่าง
  • ใช้.. คอมพิวเตอร์ในการค้นคว้าข้อมูลเชิงลึกที่มีความจำเป็นต่อการจัดกิจกรรมในด้านต่างๆ














การประเมินห้องเรียนคุณภาพ
คุณครูทุกคนกรุณาศึกษา KPI ขององค์ประกอบห้องเรียนคุณภาพทั้ง 5 ด้าน คือ
  1. การออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
  2. ICT ในห้องเรียน
  3. CAR เพื่อนำการเปลี่ยนแปลง
  4. การสร้างวินัยเชิงบวกในห้องเรียน
  5. ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ที่มา: M.T.D Knowledge
 http://www.kroobannok.com/
แบบประเมินห้องเรียนคุณภาพสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันคล้ายวันเกิด - ปิดคอส

Happy brithday to Dr.Somjit
 
แจกเค้กให้กับนักศึกษารุ่น 3

ผู้หลักผู้ใหญ่ในรุ่นกำลังมีความสุขกับอาหาร
 
เพื่อนร่วมรุ่นวัยโจ๋หลากหลายลีลากับนักร้องเสียงทองประจำรุ่น


วันมาฆบูชา

            มาฆบูชา เป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเป็นวันเกิดพระธรรมถือ
ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้า ได้ประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนของพระองค์เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย 
ที่มาประชุมกันในวันนั้น นำไปเผยแผ่
  
วัน"มาฆบูชา" เป็นวันบูชาพิเศษที่ต้องทำในวันเพ็ญเดือนมาฆะหรือในวันที่พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ซึ่งโดยปกติทำกันในกลางเดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือเดือนแปดสองแปด ก็เลื่อนไปกลางเดือน ๔)ถือกันว่าเป็นวันสำคัญเพราะวันนี้ เป็นวันคล้ายกับ วันประชุมกันเป็นพิเศษ แห่งพระอรหันตสาวก โดยมิได้มีการนัดหมายซึ่งเรียกว่าวัน จาตุรงคสันนิบาต ซึ่งได้มีขึ้น ณ บริเวณเวฬุวันมหาวิหาร หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นเวลานับได้ ๙ เดือน วันนี้เอง ที่พระพุทธองค์แสดง "โอวาทปาฎิโมกข์" ซึ่งถือกันว่า เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
              จาตุรงคสันนิบาต คือ การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ คือ ๑.วันนั้น เป็นวันมาฆปูรณมี คือวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือนมาฆะ จึงเรียกว่า มาฆบูชา ๒.พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย (สาเหตุของการชุมนุม๓.พระภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ ประเภทฉฬภิญญา คือได้ อภิญญา ๖   ๔. พระภิกษุ เหล่านั้น ทั้งหมด ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง (เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา)
              
     

            โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึง จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ของพระพุทธศาสนาไว้อย่างครบถ้วน๑.จุดหมายของพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน (นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา)         ๒.หลักการของพระพุทธศาสนา คือ ต้องมีความอดทน ในการฝึกตนเอง เพื่อบรรลุจุดหมาย(ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา) ต้องประกอบด้วย
     
ก. ไม่ทำความชั่วโดยประการทั้งปวง ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ (สพฺพปาปสฺส อรกณํ)
     
ข. ทำความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ(กุสลสฺสูปสมฺปทา)การไม่ทำความชั่วนั้น จะเรียกว่า เป็นคนดียังไม่ได้ การเป็นคนดี จะต้องทำความดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ มิฉะนั้นแล้ว คนปัญญาอ่อน คนเป็นอัมพาต  ก็จะเป็นคนดีไปหมด
     
ค. การชำระจิตใจให้สะอาด ผ่องใส สงบ (สจิตฺตปริโยทปนํ)
๓.วิธีการที่จะบรรลุจุดหมาย คือ ต้องฝึกอบรมตนแบบต่อเนื่อง ให้เกิดมรรคสามัคคีคือ อริยมรรค มีองค์ ๘ ** รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๘ เกลียว หรือให้มี ศีล สมาธิ และปัญญา รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๓ เกลียว พัฒนากาย วาจา ใจ ให้พูดดี ทำดี คิดดี ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ราคะ โมสะ โมหะไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส ตัณหา หรือความใคร่ ความอยากมี อยากเป็น แบบมืดบอด ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ที่มันเป็นไปไม่ได้ เช่น ไม่อยากเป็นคนเสื่อมลาภ,ยศ,สรรเสริญ,สุข เป็นต้น โดยอาศัยวิธีการดังต่อไปนี้.
     
ก. ฝึกวาจา ระวังเสมอ มิให้กล่าวคำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด คำเพ้อเจ้อ (อนูปวาโท)
     
ข. ฝึกกาย ระวังเสมอมิให้มีการฆ่า ทำลายชีวิต ตลอดจนถึงการเบียดเบียนทางกาย(อนูปฆาโต)
     
ค. ละเว้นข้อที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสห้ามไว้ และทำตามข้อที่พระพุทธองค์อนุญาต (ปาฎิโมกฺเข จ สํวโร)
     
ง. รู้จักประมาณในการบริโภค อาหาร ตลอดจน รู้จักประมาณในการใช้สอยปัจจัย
 (มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺสมึ)      
                     จ. ฝึกตนอย่างจริงจัง ในที่ที่สงัดจากสิ่งรบกวน (ปนฺตนฺ จ สยนาสนํ)
     
ฉ. ภาวนาอยู่เสมอ คือ พัฒนาตนเองให้พ้นจากอำนาจของกิเลสตัณหาการภาวนา หมายถึง การใช้ทั้งสมาธิ และวิปัสสนา แก้ปัญหา หรือจัดการกับกิเลส(อธิจิตฺเต จ อาโยโค)เป็นการตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอมิให้จิตใจเศร้าหมอง ให้จิตใจผ่องใสอยู่เสมอ(สจิตฺตปริโยทปนํ)จุดหมาย หลักการ และวิธีการที่พระพุทธเจ้าได้ประกาศไว้จะเป็นไปด้วยดี และบรรลุวัตถุประสงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายไว้นั้น พระองค์ได้ย้ำเตือนไว้ว่าจะต้องปฏิบัติตนให้เป็นอย่างบรรพชิต และเป็นอย่างสมณะ คือ เว้นจากความชั่วทุกประการและเป็นผู้ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่าง เพื่อระงับบาปอกุศล ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นอริยบุคคลทั้งไม่เบียดเบียนและไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่คนที่ประพฤติดี ปฏิบัติชอบทั้งหลาย(น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต)
สัมมาทิฏฐิ
 ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ
ความดำริชอบ
สัมมาวาจา
การพูดจาชอบ
สัมมากัมมันตะ
 การทำงานชอบ
    สัมมาอาชีวะ
  การเลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายามะ
     ความพากเพียรชอบ
สัมมาสติ
ความระลึกชอบ
สัมมาสมาธิ
  ความตั้งใจมั่นชอบ

 อภิญญา
อภิญญา คือความรู้อันยอดยิ่งมี ๖ ประการได้แก่ ๑.แสดงฤทธิ์ได้(อิทธิวิธิ)
๒.หูทิพย์(ทิพยโสต) ๓.รู้จักกำหนดใจผู้อื่น(เจโตปริยญาณ) ๔.ระลึกชาติได้(ปุพเพนิวาสานุสติญาณ) ๕.ตาทิพย์(ทิพยจักษุ)
๖.ทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไปคือญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย(อาสวักขยญาณ)